พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิมพ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

 

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดกิจกรรม
ไหว้พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าบรมครูแห่งโอสถ

เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต โดยเปิดให้ประชาชนได้ชมและสักการะ

เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ก.ค. ถึงวันที่ ๒ ต.ค.๒๕๖๓ ทุกวันทำการวันพุธ–วันอาทิตย์

เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
ณ บริเวณห้องโถงหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
รับหนังสือที่ระลึก "พระไภษัชยคุรุ" พระพุทธเจ้าบรมครูแห่งโอสถ ฟรี!! จำนวนจำกัด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
    สถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองสุพรรณ ตั้งแต่สมัยยุคหินเดินทาง

ผ่านกาลเวลา จนถึงปัจจุบัน สื่อที่นำมาจัดแสดง มีหลายประเภท ทั้งรูปภาพ งานปั้น

ที่งดงาม จนถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ตื่นตาเร้าใจ ที่จะให้ทั้งความรู้

และความเพลิดเพลิน กับการแวะชม
    ภาพของคำว่า " 
พิพิธภัณฑ์ " ทำให้ผมนึกถึงของเก่าๆ รูปปั้น พระพุธรูป

หม้อแตกๆ ฯลฯ แต่ปัจจุบัน รูปแบบพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเปลี่ยนไป มีสิ่งใหม่ๆ

ที่ทำให้เกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ทำให้การศึกษาหาความรู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์

ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ริมถนนสาย สุพรรณ-ชัยนาท (340)  บริเวณศูนย์ราชการใหม่จังหวัดสุพรรณบุรี

ก้าวแรกสถานที่ภายในสะอาดสวยงาม แอร์เย็นฉ่ำ ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ

เริ่มตั้งแต่สมัยการต่อสู้ปกป้องบ้านเมือง ห้องรวบรวมชนเผ่าต่างๆที่มาอาศัยในเมืองสุพรรณ

 ห้องแสดงวิถีชีวิตของชนต่างเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ที่ทำด้วยหุ่นจำลอง

ให้ความรู้สึกเหมือนจริง ห้องแสดงโบราณวัตถุ และวัตถุมงคลแบบต่างๆ

ที่หายากและมีชื่อเสียง ที่ค้นพบในจังหวัดสุพรรณ
ห้องแสดงศิลปะพื้นบ้านเมืองสุพรรณ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงศิลปินเพลงที่มีชื่อเสียง

อย่าง สุรพล สมบัติเจริญ พุ่มพวง ดวงจันทร์ และศิลปินอีกหลายท่าน

พร้อมมีเพลงของเหล่าศิลปินให้เลือกฟัง และอีกหลากหลายความน่าสนใจ

ใกล้ๆกับพิพิธภัณฑ์ฯ ยังสามารถเดินไปชม
 หอเกียรติยศ นายบรรหาร ศิลปอาชา
เป็นห้องที่รวบรวมเรื่องราวชีวิตของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่เด็ก การต่อสู้
และผลงานทางการเมือง จนถึงปัจจุบัน เป็นอาคารจัดแสดงที่ไม่ควรพลาดชม

 
และ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี นำเสนอเรื่องราว วิถีชีวิต ของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี
นับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีต หลักฐานที่แสดง
ถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา
และรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ยุทธหัตถี กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีต วรรณกรรมสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี
เพลงพื้นบ้านหรือเพลงลูกทุ่ง จนถึงสุพรรณบุรีในวันนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ประจำเมืองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดี
ประวัติศาสตร์มานุษยวิทยาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


ลักษณะอาคาร
เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น มีพื้นที่ภายในประมาณ ๓,๒๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วย
ส่วนสำนักงาน ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องประชุม – สัมมนา
ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ ห้องศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้า และส่วนให้บริการ – ประชาสัมพันธ์


การจัดแสดงนิทรรศการ

การจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะของ
การผสมผสานระหว่างการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ กับสื่อจัดแสดงประเภทต่าง ๆ
เช่นหุ่นจำลอง ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
ใน เวลาเดียวกัน โดยแบ่งหัวข้อการจัดแสดงเป็นห้องต่าง ๆ ดังนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ห้องบทนำ
จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรีในอดีต ได้แก่
ข้อความในจารึกหลักต่าง ๆ ที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณบุรี อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ ๑
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกลานทองสมัยอยุธยา พบที่วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท
และหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น
จัดแสดงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุ
ที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบป้ายคำบรรยา
ยและสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ห้องยุทธหัตถี
จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุพรรณบุรี คือ
การกระทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชา
เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๕ ที่เกิดขึ้น ณตำบลหนองสาหร่ายปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอดอนเจดีย์
อันเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจดีย์ยุทธหัตถี
จัดแสดงโดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบกับหุ่นจำลองและป้ายคำบรรยาย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ห้องคนสุพรรณ
จัดแสดงประวัติความเป็นมาและศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
ตั้งแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีกลุ่มชนสำคัญ ๆ ได้แก่ ชาวไทยพื้นบ้าน ชาวไทย
เชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายละว้า ชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ชาวไทยเชื้อสายลาวโซ่ง
หรือไทยทรงดำ โดยใช้สื่อเป็นหุ่นรูปบุคคลเชื้อสายต่าง ๆ ขนาดเท่าจริงประกอบฉากบ้านเรือน
และเสียงบรรยายร่วมกับสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ห้องบุคคลสำคัญ
จัดแสดงประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีตที่ได้ทำคุณประโยชน์นานัปการ
แก่จังหวัดสุพรรณบุรี และประเทศชาติ ประกอบด้วย
• สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ( ขุนหลวงพระงั่ว )
• สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ ( ปุ่น ปุณณสิริ )
• พระมงคลเทพมุนี ( หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ )
• เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )
• พลโทพระยาเฉลิมอากาศ ( สุณี สุวรรณประทีป )
• นายมนตรี ตราโมท

วัตถุโบราณสำคัญประกอบด้วย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร: ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สลักจากหินทรายสีเขียว
สูงประมาณ ๑๔๘.๕ ซม. พบที่โบราณสถานเนินทางพระในเขตอำเภอสามชุกซึ่งเป็นโบราณ
สถานในศาสนาพุทธนิกายมหายาน สมัยลพบุรีเดิมจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อู่ทอง ลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญ คือ เป็นประติมากรรมรูปบุรุษ เกล้ามวยผมสูงถักผม
ลักษณะที่เรียกว่า "ชฎามกุฎ" มวยผมผายออกตอนบน ส่วนโคนมวยคอด ต่างไปจากรูป
พระอวโลกิเตศวรศิลปะขอมทั่วไปที่มีมวยทรงกระบอก ปรากฏรูปภาพพระพุทธปางสมาธิ
หรือพระอติมาภะอยู่ด้านหน้ามวยผม มีกรอบไรพระศกทำลายเป็นรูปเม็ดไข่ปลา พระโพธิสัตว์
มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมพระเนตยาวรี ลืมพระเนตร ต่างกับรูปพระโพธิสัตว์ทั่วไปที่มีพระเนตร
ปิดสนิทอันเป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบบายน สวมกุณฑลรูปตุ้ม สวมกรองศอสั้น
รูปสามเหลี่ยมและพาหุรัด ม ๔ กร หัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ หัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำมนต์
หัตถ์ขวาบนถือพวงลูกประคำหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว นุ่งผ้าสั้น มีชายผ้าเป็นรูปหางปลา
คาดเข็มขัดมี หัวรูปสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้ จากลักษณะทางประติมาณวิทยาของ
พระโพธิสัตว์ที่กล่าวไป แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองบางประการที่ผสม
ผสานอยู่กับศิลปะขอมแบบบายนอายุราวพุทธศตวรรษที่๑๘ อันเป็นศิลปะที่ให้อิทธิพล
โดยตรงกับรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พระพุทธรูปนาคปรก: พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ สลักจากหินทรายสีเขียว พบที่วัดปู่บัว
เดิมจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง มีลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญคือ
พระพุทธรูปมีรัศมีเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกัน ๓ ชั้นเม็ดพระศกทำเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก
ปรากฏกรอบไรพระศกพระพักตร์ มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมพระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา
พระเนตรยาวรีลืมพระเนตรพระนาสิกโด่งงุ้มพระโอษฐ์หนาอยู่ในอาการแย้มพระสรวลเล็กน้อย
พระกรรณยาวพระพุทธรูปครองจีวรห่มเฉียง ปรากฏสังฆาฎิบนพระอังสา พระหัตถ์ทั้งสองประสาน
กันอยู่บนพระเพลาในลักษณะสมาธิ ปรากฏรูปธรรมจักรอันเป็นลักษณะของมหาบุรุษอยู่
บนฝ่าพระหัตถ์ ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนขนดนาคสามชั้น ขนดนาคมีลักษณะสอบลงสู่ชั้นล่าง
เบื้องหลังพระพุทธรูปทำรูปนาค ๗ เศียร นาคมีลักษณะใบหน้ายาว นาคเศียรข้าง
ทุกเศียรชำเลืองไปยังนาคเศียรกลางปรากฏลายดอกจันทร์ที่ลำคอนาค ลักษณะของ
พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ อยู่ในศิลปะลพบุรี ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบายน
ผสมผสานกับฝีมือช่างท้องถิ่น กำหนดอายุได้อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

สถานที่ตั้ง : ศูนย์ราชการกรมศิลปากร ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ : 
0-3553-5330, 035-536100-1
เวลาทำการ : วันพุธ-วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 09.00-16.00 น.
(หยุดวันจันทร์ วันอังคาร)
ค่าเข้าชม 20 บาท

ค่าพิกัด GPS  14.516759, 100.132267

แผนที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี